ยินดีต้อนรับคะ นางสาวอุบล สุขสร้อย[ละออ] รหัส 5411203010 กลุ่มเรียน 121 เลขที่ 33 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555



ครั้งที่ 12 วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555

**อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิกคำขวัญเลิกเหล้าออกพรรษา..^^
-กลุ่มของดิฉัน งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
-ทำให้น่าสนใจขึ้น ประกาศ...ช่วงนี้ชี้แนะ...งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง 




------กลุ่ม จ : รู้ทั้งรู้..สุราทำลายจิต คิดสักนิดก่อนดื่มมัน

------กลุ่ม ว : รักครอบครัว รักชีวิต คิดสักนิดก่อนดื่มเหล้า..นะจ๊ะ
------กลุ่ม ส : เลิกเหล้า เลิกจน..เทิดไท้องค์ราชันย์
------กลุ่ม พ : เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
------กลุ่ม ธ,ท : เลิกเถอะ!!..สุรามีพิษร้าย อันตรายถึงชีวิต
------กุล่ม น : สุราคือชีวิต เลิกเถิดก่อนชีวิตจะวอดวายเพื่อสายใยในครอบครัว
------กลุ่ม ป : เลิกดื่ม เลิกเหล้า เลิกจน รวยจริงๆนะพี่
------กลุ่ม ย : พี่จ๋า..รักชีวิต รักครอบครัว อย่ามัวเมาสุรา..น้องขอร้อง
------กลุ่ม ต : บุรุษสตรีชะนีข้ามเพศ..โปรดเลิกเหล้าเพื่อให้ทาน เลิกพาลด้วยการเลิกดื่มเหล้า
------กลุ่ม ร : เพื่อนเอย..เหล้าเบียคือยาพิษ อย่าหลงผิดริอาจลอง
------กลุ่ม ด : ถ้ารักน้องจริง เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มมีสติ เพื่ออนาคตของเรา
------กลุ่ม ม : คิดสักนิด..ดื่มเหล้า เสียตังค์ เสียสติ
------กลุ่ม ช : พ่อจ๋า..สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดดื่มสุรา หนูจะพาพ่อดื่มนม
------กลุ่ม ถ : อยากให้พี่เพิ่มอายุ เพิ่มชีวิต ด้วยการไม่ดื่มสุรา
------กลุ่ม พ : โปรดหยุด!..เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
------กลุ่ม บ : ประกาศ..ช่วงนี้ชี้แนะ..งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
------กลุ่ม ล : มาพวกเรามา คว่ำแก้วเลิกเหล้า ครอบครัวมีความสุข จริงๆนะ



**อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเพลงที่แต่งใหม่โดยใช้ทำนองเพลงเดิมที่ยืมเขามานี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเพลง


กลุ่มของภรณ์ไพริน เพลง สัตว์อะไร

            จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
            ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอบคุณครู (ซ้ำ)
            แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น แปล๊น เอ๊ะ นั้นเสียงอะไร
เด็กเด็กรู้บ้างไหม เสียงอะไรช่วยตอยคุณครู (ซ้ำ)

กลุ่ม พลอย เพลง บ้านหนูอยู่ไหนจ๊ะ

หนูจ๋า บ้านหนูอยู่ไหน มีอะไรน่าสนใจบ้าง
คุณครู นั้นอยากรู้จัง เล่าให้ฟังบ้างได้ไหม
ทำท่าให้ดูก็ได้ ท่าอะไรก็ตามใจหนู
ลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลาลั้ลลา

กลุ่ม ส้ม เพลง ดื่มนมกันเถอะนะ

เด็กเด็ก ดื่มนมกันนะ ดื่มนมกันนะ ร่างกายแข็งแรง
มีทั้งนมหวาน นมจืด มีทั้งนมหวานนมจืด
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ
มาซิมา มาดื่มนมกันเถอะ นะ
 

กลุ่ม เอ๋ย เด็กเด็ก ตั้งใจเรียน

ทุกทุกวันแต่เช้า... พวกเรารีบมาโรงเรียน
มาฝึกอ่านฝึกเขียน นั่งเรียนกันอย่างตั้งใจ
ABC ครูสอน ..... พอถึงตอนพยัญชนะไทย
เราสนุกสดใส ตั้งใจ ตั้งใจ นั่งเรียน

กลุ่มดาว อู๊ด...อู๊ด..
 

ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ขอนมเพิ่มอีกนะ อู๊ด อู๊ด
เอาไปเลยจ๊ะ แม่หมูบอก ดื่มให้หมดแล้วร้อง อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก ออกไปเล่นข้างนอกกันเถอะ อู๊ด อู๊ด
ไปไม่ได้จ๊ะต้องทานข้าวก่อน ทานข้าวให้หมดจานก่อน อู๊ด อู๊ด
ลูกหมูตัวกลมกลมอ้วนกลมบอก เริ่มง่วงนอนแล้วสิ อู๊ด อู๊ด
นอนไม่ได้จ๊ะ แม่หมูบอก แปรงฟันก่อนเข้า นอน อู๊ด อู๊ด

กลุ่ม เพลง เพลง เพลงเพื่อน

เพื่อนเพื่อนฉันมีมากมาย ทั้งชายทั้งหญิงปะปน
ในห้องนั้นมีหลายคน เพื่อนเพื่อนทุกคนเล่นกันสนุกดี
เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี เล่นกัน เล่นกัน สนุกดี

กลุ่มบุ๋ม เพลง สบายตัว สบายใจ

อาบน้ำแล้วสบายตัว สระผมแล้วสบายใจ
แปรงฟัน แล้วยิ้มสดใส ดูซิดู ฟันขาว สะอาดจัง ดูซิดู ฟันขาวสะอาดจัง

กลุ่ม นิด เพลง ออกกำลังกาย

เต้น เต้น เต้น เรามาเต้น เต้นออกกำลัง
เต้นแล้วจะมีพลัง เต้นแล้วจะมีพลัง
เต้น สนุกจัง ร่างกายแข็งแรง เย้ๆ

กลุ่มเมย์ เพลง หนูจ๋า

หนูจ๋า รีบมาโรงเรียน รีบมาโรงเรียน
มาฟังคุณครู มาเรียนจะได้ความรู้
มาสิมาดู มาเล่นด้วยกัน
ลั้ล ลาลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา ลั้ลลา

กลุ่ม กวาง เพลง ดื่มนม

ฉันอยากดื่ม นมมันเนย ฉันอยากโตไวไว
ฉันชอบดื่ม รสจืดจืด รสชาติก็อร่อย
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ไม่ไม่ไม่เราไม่โอเค
ลองสักแก้วเหมือนฉันเอาไหม ได้ได้ได้เราชอบเหมือนกัน
งั้นมาดื่ม นมกันเถอะ จะได้สูง เหมือนครู

กลุ่มเกด เพลง เป็ดอาบน้ำ

            ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เป็ดอาบน้ำฝักบัว ถูสบู่ตามตัว
ล้างหน้า ล้างหน้า แปรงฟัน เป็ดอาบน้ำฝักบัว ก๊าบ ก๊าบ

กลุ่ม ปักเป้า เพลง ผีเสื้อตัวเรา

ลดพัดแรง ลมพัดเบา
ผีเสื้อของเรา บินมาตรงนี้
ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว ดูให้ดีว่ามีกี่ตัว
1 ตัว 2 ตัว 3 ตัว 4 ตัว 5 ตัว 6 ตัว 7 ตัว 8 ตัว 9 ตัว 10 ตัว
 
กลุ่ม บี เพลง เต่า
เต่า เต่า เต่า                              เต่า อาบน้ำในนา
ตาก็จ้องมองหา                        ผักบุ้งนานั้น อยู่หนใด


  หลักในการแต่งเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย มีอยู่ว่า
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงที่จะแต่ง
2.ร้องเพลงได้ถูกทำนองและจังหวะ
3.เพลงต้องไม่สั้นหรืยาวเกินไป
4.เนื้อหาเข้าใจง่าย
5.ทำนองสนุกสนาน

วิธีการแต่งเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
-เนื้อหาฟังเข้าใจง่าย
-สั้น กระชับ
-มีทำนองสนุกสนาน
-ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการแต่งเพลง
-เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก 

ตัวอย่างเพลง

 เพลงที่ 1 เพลงเจ้านกน้อย  จุดประสงค์หลักของเนื้อหาสาระให้เด็กเล็ก รู้จักสัตว์เลื้ยงและ ให้เด็กรู้จักคำว่าความอิสระและคำว่า เสรี ลองดูเนื้อหาและการสร้างสรรค์กิจเพิ่มเติม ครูผู้สอน สามารถนำไปใช้ประกอบบทเรียนในห้องเรียนทั้งวิชาดนตรี สังคม ภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์และ วิชาศิลปะ หรือดัดแปลงในกิจกรรมเข้าจังหวะอื่นๆ ก็ได้
แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.

เพลงที่ 2 เพลงกวาดบ้าน จุดประสงค์หลักเพื่อให้เด็กได้รู้จักทำกิจกรรมที่บ้านคือการกวาดถูบ้านให้ สะอาด เพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้านได้บางส่วนที่เด็กสามารถทำได้ ซึ่งในการแต่งเพลงนี้ ผู้แต่งใช้โน้ตเพียง 3 ตัวเท่านั้น คือ โด เร มี ซึ่ง มีระดับช่วงกว้างของเสียงน้อยมาก เด็กเล็ก สามารถร้องได้สะดวก ครูผู้สอนสามารถนำบทเพลงนี้ไปใช้สอนได้ทุกวิชา และสามารถสร้างกิจกรรมเพื่อประกอบบทเพลงได้มากมาย
 บทเพลงที่ 3 ขอเป็นเพื่อน เป็นบทเพลงที่ให้เด็กรู้จักกิจกรรมประจำวันที่ทุกคนต้องทำอยู่ทุกวัน คือการสวัสดี ซึ่งเด็กทุกคน จะต้องกล่าวคำว่าสวัสดีตั้งแต่ตื่นเช้ากับพ่อแม่ ขณะอยู่ในบริเวณโรงเรียนกับคุณครู อยู่กับเพื่อนฝูง และเวลานักเรียนจะกลับบ้านหลังจากจบการเรียนในแต่ละวัน
 ทีมา http://www.musiclandusedpiano.com/index.php?lite=article&qid=639393

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555

วันนี้อาจารย์นัดอาจารย์จากข้างนอก มาสอนทำดอกไม้ต่างๆ สำหรับเทศกาล หรืองานจัดบอร์ด

 
วิดีโอ การสอนทำดอกไม้จากกระดาษ

 


วิดีโอ สอนทำกุหลาบจากทิชชู่


วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555

เรื่องย่อของ  ช้างน้อยอัลเฟรด 
   อัลเฟรตเป็นช้างน้อยที่มีงวงยาวมาก อัลเฟรตรู้สึกอายที่ตนมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ้อนงวงของตน วันหนึ่งอัลเฟรตได้ยินเสียงร้องขอความช่วบเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติด อยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรตได้ใช้งวงช่วยเด็ก ผู้หญิงลงมา สัตว์ตัวอื่นพากันชื่นชมอัลเฟรตตั้งแต่นั้นมา อัลเฟรตก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนไม่เหมือนใคร












แนวคิดพื้นฐาน        "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ความหมาย        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นหลัก ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวม
หลักการ 1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็กในการค้นหาความหมาย
2. การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน
3. การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
4. การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงามสร้างขึ้นได้จากนิทาน
5. เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
วิธีการ1. เลือกวรรณกรรมที่ดีมาอ่านให้เด็กฟังไม่ต้องกังวลที่จะให้เด็กอ่านตามไม่ต้อง ให้เด็กคอยตอบคำถามไม่ต้องจำเรื่องให้ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะฟังเรียก ร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
*** ภาพประกอบในหนังสือจะสื่อความหมายให้สมองรับรู้เรื่องราวที่ได้ฟังและแม้มี คำยากปนอยู่บ้างสมองก็จะพยายามเชื่อมโยงความหมายของคำนั้นกับเรื่องราววิธี เรียนรู้แบบนี้เป็นวิธีเรียนภาษาที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูง ***
** เมื่ออ่านให้เด็กฟังติดต่อกันยาวนานพอเด็กจะเริ่มจดจำเรื่องได้ในที่สุดเด็ก จะหยิบหนังสือมาเปิดอ่านการสะกดได้จะตามมาภายหลังการสอนอ่านและสอนสะกดทำได้ ง่ายมากเมื่อเด็กรักที่จะอ่านแล้ว ***
2. กระตุ้นให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละครวัตถุสิ่งของ ฉาก หรือสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม โดยใช้คำถามหลายๆ ระดับ
** ลักษณะของคำถาม : ความจำ, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การนำไปใช้, การประเมินค่า, การสร้างสรรค์ **
3. วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมประจำวัน โดยมีศิลปะและละครเป็น องค์ประกอบสำคัญ
4. จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้โดยทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็กให้เด็กช่วยกันเลือก สิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้และ สิ่งที่เด็กเรียนรู้ และร่วมกันจัดนิทรรศการ
กิจกรรมเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม
*** การวิเคราะห์ตัวละคร
*** การวิเคราะห์สถานการณ์
*** การจัดทำวัตถุสิ่งของ
*** การเล่นละครสร้างสรรค์
*** อุปกรณ์ประกอบฉากหรือเครื่องแต่งกายที่สัมพันธ์กับเรื่อง
*** การจัดโต๊ะนิทาน
*** การทำหนังสือนิทาน
*** การทำศิลปะแบบร่วมมือ
*** การประกอบอาหาร
*** การประดิษฐ์และการสร้าง
*** เพลง และคำคล้องจอง
*** การเคลื่อนไหวและจังหวะ
*** การเพาะปลูก
*** การเลี้ยงสัตว์
*** เกมการศึกษา
*** ฯลฯ
 ประสบการณ์ทางภาษาภาครับ
เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษาที่มีความหมาย
เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง
ประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ
เด็กได้รับกำลังใจและการยอมรับนับถือต่อความต้องการ ในการสื่อสารของเด็กเอง
เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตาม ระดับพัฒนาการ
เด็ก ได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น
เด็กใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา ตั้งสมมุติฐาน สรุป หรือ ทำนายเหตุการณ์
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดประสบการณ์
  images/stories/sub01.png เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
  images/stories/sub01.png เด็กมีพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมกับวัย

  ได้ฟังเพลงเกาะสมุยแล้วบอกอาจารย์ว่าได้อะไรและรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ฟังเพลงนี้
-เพลงนี้บอกความสวยงามและสถานที่ตั้งของเกาะสมุย มีความสำคัญและสถานที่ใดสวยงาม มีสิ่งน่าสนใจอะไรบ้าง
-ฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกสบายผ่อนคลายรู้สึกสนุกในวันพักผ่อน
-วัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้คนไปเที่ยวเกาะสมุย
- เมื่อใครได้ฟังแล้วก้อทำให้ทุกคนอยากไปเที่ยวเกาะสมุยทันที
                                                 เพลงเกาะสมุย
 

*คนเป็นครูต้องสามารถแต่งเพลง เพื่อช่วยนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน

 การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ

ความหมายของ การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
การฟังเพื่อจับใจความสำคัญหมายถึง การอ่านอย่างมีความเข้าใจเนื้อความตอนที่ทำให้เรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้น

การอ่านกับการฟัง
ผู้ที่จะอ่านและฟังเข้าใจต้องมีความพร้อม ถ้าเปรียบเทียบระหว่างผู้อ่านและผู้ฟังจะเห็นว่ามีความแตกต่างที่เห็นได้ ชัดเจน ในการจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านหรือฟังนั้น ผู้ฟังต้องตั้งใจตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้น หรือไม่ตั้งใจฟังบางขณะ คำพูดย่อมผ่านไป แต่ผู้อ่านสามารถอ่านซ้ำหลายครั้งเพื่อจับใจความและทำความเข้าใจเรื่องได้

การฟังยังมีผลต่างกับการอ่านคือ การฟังก่อให้เกิดปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างผู้ฟังได้ แต่ การอ่านแม้จะอ่านหนังสือเล่มเดียวกันในเวลาเดียวกัน ผู้อ่านจะได้ความรู้ ความจำ เฉพาะตอนที่จับใจความได้และไม่อาจมีปฏิกิริยาร่วมกับผู้อื่นได้

ลักษณะการฟังที่ดี
การรู้จักฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยให้เป็นคนมีสมรรถภาพสูง เยือกเย็นน่าคบหาเพราะมีมนุษยสัมพันธ์ดี นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย ลักษณะการฟังที่ดี พอจะกำหนดเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1. ฟังด้วยความสนใจ ตั้งใจ และมีสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เมื่อจำเป็นต้องมีการฟัง ต้องฟังด้วยความสนใจ ทำให้อยากรู้อยากเห็น และต้องคิดเสมอว่าเรื่องนี้มีประโยชน์น่าสนใจ
2. ฟังด้วยความตั้งใจ ตัดสิ่งรบกวนทางจิตใจออกไปไม่คิดถึงความหิว ความอิ่ม ฯลฯ ถ้าตัดกังวลเหล่านี้ไปได้ก็จะเหลือแต่ความตั้งใจฟัง จะได้รับสาระเต็มที่
3. ฟังเพื่อเก็บสาระสำคัญ ในการฟังแต่ละครั้งต้องทราบว่า ผู้พูดพูดเรื่องอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร เราก็รู้จักสรุปเรื่องเพื่อเก็บสาระสำคัญให้ได้
4. ฟังเพื่อพัฒนาความคิด ตามธรรมดามนุษย์เรามีความคิดเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาบางทีนั่งอยู่นิ่ง ๆ ก็คิดถึงเรื่องราวต่าง ทั้งที่เกิดขึ้นในอดีตและคาดการณ์ว่าจะเกิดในอนาคตดูสับสนไปหมด
แต่เมื่อมีรายการที่จะฟังเราอาจเห็นด้วยหรือเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ได้ การฝึกความคิดนี้ต้องฝึกอยู่ เสมอ ๆ จึงจะเป็นนักฟังที่ชาญฉลาด
5. ผู้ฟังต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่ฟัง การฟังเรื่องราวใด ๆ ก็ตาม หากผู้ฟังมีพื้นฐานความรู้เดิมอยู่บ้างก็จะได้ประโยชน์ ไม่สับสน และสามารถเชื่อมเรื่องราวที่กำลังฟังใหม่กับความรู้เก่าของเราได้อย่างกลม กลืน
6. ผู้ฟังต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษา หมายถึง ควรรู้จักคำอย่างกว้างขวาง เพราะสามารถจะทำความเข้าใจเรื่องที่ฟังได้อย่างรวดเร็ว
7. ต้องมีความเคารพและยอมรับผู้พูด ถึงแม้บางครั้งอาจแตกต่างกับเรื่องที่เราเคยรู้มา หรือเคยเรียนมา
9. มีวิจารณญาณและความรอบคอบ สามารถจับประเด็นได้ว่า ตอนใดเป็นแก่นของเรื่องหรือใจความสำคัญของเรื่อง และตอนใดเป็นพลความ หรือตัวอย่างประกอบ
10. มีเจตคติที่ดีต่อผู้พูดและเรื่องที่รับฟัง ผู้พูดที่ดีต้องไม่ถือเอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นใหญ่ เราต้องคิดอยู่เสมอว่า บุคคลที่เป็นผู้พูดนั้นเป็นคนที่ควรเคารพ เขามาให้ความรู้แก่เรานับว่าให้ประโยชน์แก่เราเหลือล้น

ประเภทการฟัง
การฟังมีหลายประเภท ได้แก่ การฟังนิทาน โฆษณา เพลง บทละคร อธิบาย บรรยาย ปาฐกถา
สุนทรพจน์ อภิปราย สนทนา โต้วาที ข่าว คำสั่ง การสัมภาษณ์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
แถบบันทึกเสียง ฯลฯ

มารยาทในการฟัง
มารยาทในการฟังมีหลายประการ จะละเลยข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ มารยาทการฟังในที่สาธารณะ ตลอดจนการสอนของครูอาจารย์ในห้องเรียน ควรรักษามารยาทและปฏิบัติดังนี้
1. เดินทางไปถึงสถานที่ที่มีการพูดก่อนเวลาที่จะเริ่มพูดประมาณ 15 นาที เป็นอย่างน้อย เพื่อจะได้มีเวลาจัดหาที่นั่งให้เป็นระเบียบไม่รบกวนผู้อื่น
2. ควรอยู่ในความสงบสำรวมขณะนั่งรอฟังการพูด
3. แต่งกายให้ถูกกาลเทศะ
4. เมื่อผู้พูดหรือประธานเดินทางมาถึง ควรให้เกียรติต้อนรับด้วยการยืนขึ้น เมื่อผู้พูดหรือประธานนั่งลงจึงค่อยนั่งตาม
5. ถ้าประธานจุดธูปเทียนบูชาพระ ควรลุกขึ้นพนมมือด้วย
6. ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัว
7. มีอาการสำรวมขณะที่นั่งฟัง แสดงความสนใจในการพูด ไม่นั่งไขว่ห้างหรือนั่งเอนหลังตามสบายหรือนั่งหลับ
8. ไม่พูดคุยกันกับผู้ฟังด้วยกัน ไม่ควรเขียนจดหมายเวียนกันอ่านในทำนองวิจารณ์ผู้พูดหรือเรื่องอื่น ๆ ก็ตาม
9. ไม่ส่งเสียงโห่ฮาหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือไม่พอใจ
10. ไม่ทำความรบกวนแก่ผู้ฟังคนอื่น
11. ไม่แสดงอาการให้ผู้พูดรู้สึกเก้อเขิน หรือยิ้มเยาะผู้พูดเมื่อพูดผิดพลาด
12. ฟังด้วยความตั้งใจและอดทน รู้จักเก็บความรู้สึกถ้าไม่เห็นด้วยกับผู้พูด ก็ควรมีใจกว้างและเป็นธรรม
13. หากมีข้อสงสัยในขณะที่มีการดำเนินการพูดอยู่ ก็ควรจดบันทึกย่อไว้ แล้วรอโอกาสถามในช่วงที่ผู้พูดหรือประธานเปิดโอกาสให้
14. ถ้าหากผู้พูดเป็นพระภิกษุและเป็นการแสดงธรรมผู้ฟังต้องพนมมือ และแสดงความสำรวมให้สมกับเป็นพุทธมามกะ
15. ไม่ออกจากสถานที่ที่มีการพูดก่อนเวลาพูดเสร็จ หากมีกิจธุระจำเป็นต้องแสดงความเคารพผู้พูดก่อนแล้วจึงออกไปได้
16. ปรบมือแสดงความขอบคุณผู้พูดเมื่อการพูดสิ้นสุดลง


ฟังอย่างตั้งใจ…..ปัญญาไว…..เพราะใส่ใจในการฟัง

*วันนี้อาจารย์ก็ได้สั่งให้ แต่ละกลุ่มแต่งเพลง และแต่งนิทาน ของแต่ละกลุ่มที่จับฉลากได้
มีเล่าไปตัดไป
เล่าไปพับไป
เล่าไปวาดไป
เล่าไปฉีกไป
เล่ากับเชือก
และกลุ่มของดิฉันได้จับฉลากได้  เล่าไปพับไป

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 19  สิงหาคม 2555


อาจารย์สอนชดเชย วันที่ 20 กรกฏาคม 2555

อาจารย์สอนในเรื่่อง-สื่อโทรทัศน์ : ให้เด็กดูแล้วนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง


-ประชา สัมพันธ์ : คือ บอกให้ทราบ เพื่อให้รับรู้ เชิญชวน โดยการบอกวัตถุประสงค์ของเรื่อง มีสถานที่ เวลา แล้วก็ให้นักศึกษาคิดข้อความประชาสัมพันธ์คนละ 1 เรื่อง และพูดให้เพื่อนฟัง
 ตัวอย่างประชาสัมพันธ์
          วันที่ 28 สิงหาคม-5กันยายน ปี 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จะมีงาน otop 4ภาค ขอเชิยทุกคนมาร่วมงาน เดินเที่ยว มีของกินและสินค้ามากมาย เวลาตั้งแต่ 10.00-22.00 น.

-การเล่าข่าว : ลักษณะอ้างอิง,เรื่องจริง,ทบทวนเหตุการณ์,เรียงลำดับ,แปลงเหตุการณ์เป็นคำ พูด มีวันเวลา อาจพบเห็นด้วยตนเอง หรือจากผู้อื่น
วัตถุประสงค์
-มีประสบการณ์ในการพูด
-เนื้อหาจริงต้องมีการอ้างอิง

-การเล่าประสบการณ์ของตนเอง ทบทวนเหตุการณ์ เรียงลำดับ แปลงเหตุการณ์ เป็นคำพูด


-การโฆษณา
:มีวัตถูประสงค์อย่างไร คิดวิเคราะห์,เชื่อมโยงหาคุณสมบัติ การโฆษณา ทำให้เด็กมีความรู้รอบตัวได้ สื่อใน โทรทัศน์ อันไหนที่เด็กชอบ
การโฆษณากับของรักของหวงจะต่างกัน เพราะการโฆษณาต้องคิดวิเคาระห์ และสามารถทำให้เด็กมีความรู้รอบตัวได้
การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ก็ต่างกัน

วิดีโอ วัตถุประสงค์ของการโฆษณา

  

ตัวอย่างโฆษณา


ข่าว เป็นข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  เมื่อนำมาเสนอในรูปแบบของการรายงานข่าว เช่น การลงหนังสือพิมพ์ หรือ การอ่านข่าว จะต้องคงใจความสำคัญไว้ครบถ้วนว่า ใคร ทำอะไร ทำเมื่อไร ทำที่ไหน  ทำทำไม และทำอย่างไร  จะเห็นได้ว่า ไม่มีส่วนที่เป็นมุมมองของหรือทัศนคติของผู้เขียนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือผลที่จะตามมาจากเหตุการณ์นั้น

การเล่าข่าว เป็นการเล่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจมีมุมมองของผู้เล่าปนเข้าไปกับเนื้อข่าว เช่น รายการเรื่องเล่าต่างๆ ที่มีการแสดงข้อคิดเห็นกัน มากมาย อาจมีทั้งข้อความในเชิงบันเทิง เล่าข่าวให้เป็นเรื่องตลก หรือข้อความเสียดสีการกระทำที่ตนไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณในการรับฟัง

ตัวอย่างข่าว    นาย A เข้าไปในบ้านนาย B เพราะมีคนบอกนาย A ว่า ในบ้านนาย B เป็นที่พักของนกที่อาจจะไปกินผลไม้ของนาย A

รูป แบบเล่าข่าว 1 >> เมื่อวานนี้ นาย A ใช้กำลังบุกเข้าค้นบ้านนาย B โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อค้นหานกที่นาย A คิดว่านาย B ซ่อนเอาไว้ทำร้ายตนทั้งที่นาย B ไม่เต็มใจให้เข้า เนื่องจากนาย B กำลังดูแลลูกอยู่ แต่ก็ต้องยอมเพราะนาย A ยกพวกมาข่มขู่  

รูปแบบ เล่าข่าว 2 >> เมื่อวานนี้ นายA ได้ขออนุญาตเข้าไปดูภายในบ้านของนาย A ว่ามีนกอยู่หรือเปล่าเพราะกลัวว่า นกจะมากินผลไม้ของตน ซึ่งถ้านาย B ไม่ยอมให้นกเข้าบ้านไปตั้งแต่เเรกก็จะไม่เข้าไปหาหรอก นายA แค่จะปกป้องผลไม้ของตัวเอง ซึ่งถ้านาย B บริสุทธ์ใจจริงทำไมไม่ยอมให้เข้าไปดู









 

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 10 วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555
     เล่านิทานซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ การเล่านิทานโดยใช้แผ่นซีดี เล่าให้เด็กอนุบาล 1 ฟัง 
        เมื่อเข้าไปพูดคุยกับน้องในช่วงแรกน้องเขินอายไม่กล้าพูด เมื่อขอดูของเล่นน้องหวงของเล่นและเอาไปซ่อนแต่เมื่อพูดคุยมากขึ้นน้องสามารถโต้ตอบได้เป็นคำๆ หรือเป็นประโยคสั้นๆ บางคำพูดไม่ชัดเจนและต้องพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่น้องต้องการสื่อสาร ในขณะทำกิจกรรมน้องตั้งใจดูสื่อวีดีโออย่างตั้งใจ และมีการโต้ตอบกันระหว่างผู้สัมภาษณ์และน้องดีกว่าในตอนแรก
 

 กลุ่ม อ๊อฟ  ได้ สื่อ วีดีโอ  เรื่องทอมแอนเจอร์รี่  น้อง อนุบาล 1 
  
น้องชื่อ  น้อง กาฟิล  อายุ 4 ขวบ  โรงเรียน วัดลาดพร้าว
พัฒนาการของ น้อง อนุบาล 1 
 การฟัง   เด็กจะชอบฟังนิทานแต่จะมีสมาธิสั้น
 การพูด  เด็กเรียนรู้คำศัพท์ได้รวดเร็ว  จะพูดได้ 3-4 คำ
 การอ่าน เด็กรู้จักศัพท์ง่ายๆจะจำศัพท์์ได้รวดเร็ว
 การเขียน เ็ด็กเขียนตัวหนังสือตัวโต

* พัฒนาการของเด็กจะแตกต่างกัน 
บทบาทของครูที่มีต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

1.จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามวัย
2.เป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาและมีความ
      เชื่อมั่นในตนเอง
3.    สร้างทัศนคติที่ดีทางด้านภาษาให้กับเด็ก
4.ให้การเสริมแรงแก่เด็กเมื่อเด็กมีพัฒนาการที่ดีเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
      ขั้นต่อไป
5.   จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
ภาพการนำเสนอ

กลุ่ม ปักเป้า  ได้ สื่อ BigBook   เรื่อง สัตว์เลี้ยงแสนร้าย  น้อง อนุบาล 3 

น้องชื่อ น้องไอซ์  โรงเรียน  ถนอมพิศวิทยา

พฤติกรรมน้อง

น้องไอซ์บอกว่า หนังสือเล่มนี้รูปสวยจัง น้องมีการสนทนาตอบคำถามของพี่ได้

 พี่ถามว่า น้องชอบกินพิซซ่า หน้า อะไร
 น้อง   ตอบ   หน้ากุ้ง
พี่ถามว่าน้อง อยากเลี้ยงสัตว์อะไร
 น้องตอบว่า แมว  เพราะว่าแมวสวย

กลุ่ม ไอซ์  ได้ สื่อ  Big Book  เรื่อง พระอาทิตย์หายไปไหน  น้อง อนุบาล 1 

โรงเรียน สตรีวรนาถบางเขน

กลุ่ม พราว  เรื่อง ราชสีห์กับหนู  น้อง อนุบาล 3 

น้องต้นกล้า  

พัฒนาการ ด้านภาษา เด็ก 4-5 ขวบ
 จะจำเรื่องราวบางตอนได้
 พูดประโยคยาวๆได้
 บอกชื่อที่อยู่ได้
เล่าเรื่องได้

พฤติกรรมน้อง

น้องกล้าแสดงออก กล้าพูดกับพี่ๆและน้องสามารถตอบคำถามของพี่ๆได้


กลุ่ม หนิง เรื่อง เรื่องเล่าของเจ้าหญิง  น้อง อนุบาล 2  โรงเรียน วัดไตรวัฒนาราม

น้องชื่อ น้อง นะโม

 พฤติกรรมน้อง

  น้องเขินอายไม่กล้ามองหน้าพี่ๆและไม่สนใจพี่ๆชอบมองไปทางอื่น และก็มีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมช่วยพูดกระตุ้นให้น้องนะโมได้มีสมาธิในการ สนใจที่จะฟังนิทาน
พัฒนาการ 5- 6ปี 
-เริ่มเข้าอนุบาล
-พัฒนาคำศัพท์
-ใช้ประโยคตามหลักไวยากรณ์


    และวันนี้ อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมในห้องก็คือว่า อาจารย์ให้นักศึกษาบอกของรักของหวงของตัวเองมา 1 ชิ้น และก็บอกด้วยว่าทำไมถึงรักและหวงของชิ้นนี้
   ของหวงของดิฉันก็คือ บัตรผ่านเข้าออกเพราะถ้าไม่มีอันนี้ฉันก็ไม่สามารถที่จะเข้าบ้านได้
วัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมของรักของหวง
 -เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ด้านการพูด
-ทำให้เกิดความเชื่อมั่นเพราะเรื่องง่ายๆเขาก็ทำได้สำเร็จ ทำให้เขากล้าที่จะพุดในครั้งต่อไป
-เป็นการสะท้อนความรู้สึกโดยใช้ภาษาในการแสดงออก


และอาจารย์ก็ให้โฆษณาสินค้าที่มีอยู่ในตัวเรา มา1 ชิ้นเพราะบอกทั้งสรรพคุณของสินค้านั้น
   ดิฉันได้ขาย เสื้อแขนยาว ที่สามารถกันแดดก็ได้ ให้ความอบอุ่นในเวลาหนาว
วัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมโฆษณา
-มีประสบการณ์ในการพูด
-มีความโน้มน้าวในการพูด
-เด็กได้คิดวิเคราะห์และสื่อมาเป็นคำพูด


>ให้วาดรูปคำรวมกัน
โฆษณาสิ่งของ(เสื้อแขนยาว)
ของรักของหวง(บัตรผ่านเข้าออก)