ยินดีต้อนรับคะ นางสาวอุบล สุขสร้อย[ละออ] รหัส 5411203010 กลุ่มเรียน 121 เลขที่ 33 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555

เรื่องย่อของ  ช้างน้อยอัลเฟรด 
   อัลเฟรตเป็นช้างน้อยที่มีงวงยาวมาก อัลเฟรตรู้สึกอายที่ตนมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ้อนงวงของตน วันหนึ่งอัลเฟรตได้ยินเสียงร้องขอความช่วบเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติด อยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรตได้ใช้งวงช่วยเด็ก ผู้หญิงลงมา สัตว์ตัวอื่นพากันชื่นชมอัลเฟรตตั้งแต่นั้นมา อัลเฟรตก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนไม่เหมือนใคร












แนวคิดพื้นฐาน        "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ความหมาย        การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นหลัก ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวม
หลักการ 1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็กในการค้นหาความหมาย
2. การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน
3. การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
4. การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงามสร้างขึ้นได้จากนิทาน
5. เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
วิธีการ1. เลือกวรรณกรรมที่ดีมาอ่านให้เด็กฟังไม่ต้องกังวลที่จะให้เด็กอ่านตามไม่ต้อง ให้เด็กคอยตอบคำถามไม่ต้องจำเรื่องให้ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะฟังเรียก ร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
*** ภาพประกอบในหนังสือจะสื่อความหมายให้สมองรับรู้เรื่องราวที่ได้ฟังและแม้มี คำยากปนอยู่บ้างสมองก็จะพยายามเชื่อมโยงความหมายของคำนั้นกับเรื่องราววิธี เรียนรู้แบบนี้เป็นวิธีเรียนภาษาที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูง ***
** เมื่ออ่านให้เด็กฟังติดต่อกันยาวนานพอเด็กจะเริ่มจดจำเรื่องได้ในที่สุดเด็ก จะหยิบหนังสือมาเปิดอ่านการสะกดได้จะตามมาภายหลังการสอนอ่านและสอนสะกดทำได้ ง่ายมากเมื่อเด็กรักที่จะอ่านแล้ว ***
2. กระตุ้นให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละครวัตถุสิ่งของ ฉาก หรือสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม โดยใช้คำถามหลายๆ ระดับ
** ลักษณะของคำถาม : ความจำ, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การนำไปใช้, การประเมินค่า, การสร้างสรรค์ **
3. วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมประจำวัน โดยมีศิลปะและละครเป็น องค์ประกอบสำคัญ
4. จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้โดยทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็กให้เด็กช่วยกันเลือก สิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้และ สิ่งที่เด็กเรียนรู้ และร่วมกันจัดนิทรรศการ
กิจกรรมเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม
*** การวิเคราะห์ตัวละคร
*** การวิเคราะห์สถานการณ์
*** การจัดทำวัตถุสิ่งของ
*** การเล่นละครสร้างสรรค์
*** อุปกรณ์ประกอบฉากหรือเครื่องแต่งกายที่สัมพันธ์กับเรื่อง
*** การจัดโต๊ะนิทาน
*** การทำหนังสือนิทาน
*** การทำศิลปะแบบร่วมมือ
*** การประกอบอาหาร
*** การประดิษฐ์และการสร้าง
*** เพลง และคำคล้องจอง
*** การเคลื่อนไหวและจังหวะ
*** การเพาะปลูก
*** การเลี้ยงสัตว์
*** เกมการศึกษา
*** ฯลฯ
 ประสบการณ์ทางภาษาภาครับ
เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษาที่มีความหมาย
เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง
ประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ
เด็กได้รับกำลังใจและการยอมรับนับถือต่อความต้องการ ในการสื่อสารของเด็กเอง
เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตาม ระดับพัฒนาการ
เด็ก ได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น
เด็กใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา ตั้งสมมุติฐาน สรุป หรือ ทำนายเหตุการณ์
เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์
ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดประสบการณ์
  images/stories/sub01.png เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
  images/stories/sub01.png เด็กมีพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมกับวัย

  ได้ฟังเพลงเกาะสมุยแล้วบอกอาจารย์ว่าได้อะไรและรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ฟังเพลงนี้
-เพลงนี้บอกความสวยงามและสถานที่ตั้งของเกาะสมุย มีความสำคัญและสถานที่ใดสวยงาม มีสิ่งน่าสนใจอะไรบ้าง
-ฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกสบายผ่อนคลายรู้สึกสนุกในวันพักผ่อน
-วัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้คนไปเที่ยวเกาะสมุย
- เมื่อใครได้ฟังแล้วก้อทำให้ทุกคนอยากไปเที่ยวเกาะสมุยทันที
                                                 เพลงเกาะสมุย
 

*คนเป็นครูต้องสามารถแต่งเพลง เพื่อช่วยนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน

 การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ

ความหมายของ การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
การฟังเพื่อจับใจความสำคัญหมายถึง การอ่านอย่างมีความเข้าใจเนื้อความตอนที่ทำให้เรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้น

การอ่านกับการฟัง
ผู้ที่จะอ่านและฟังเข้าใจต้องมีความพร้อม ถ้าเปรียบเทียบระหว่างผู้อ่านและผู้ฟังจะเห็นว่ามีความแตกต่างที่เห็นได้ ชัดเจน ในการจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านหรือฟังนั้น ผู้ฟังต้องตั้งใจตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้น หรือไม่ตั้งใจฟังบางขณะ คำพูดย่อมผ่านไป แต่ผู้อ่านสามารถอ่านซ้ำหลายครั้งเพื่อจับใจความและทำความเข้าใจเรื่องได้

การฟังยังมีผลต่างกับการอ่านคือ การฟังก่อให้เกิดปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างผู้ฟังได้ แต่ การอ่านแม้จะอ่านหนังสือเล่มเดียวกันในเวลาเดียวกัน ผู้อ่านจะได้ความรู้ ความจำ เฉพาะตอนที่จับใจความได้และไม่อาจมีปฏิกิริยาร่วมกับผู้อื่นได้

ลักษณะการฟังที่ดี
การรู้จักฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยให้เป็นคนมีสมรรถภาพสูง เยือกเย็นน่าคบหาเพราะมีมนุษยสัมพันธ์ดี นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย ลักษณะการฟังที่ดี พอจะกำหนดเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1. ฟังด้วยความสนใจ ตั้งใจ และมีสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เมื่อจำเป็นต้องมีการฟัง ต้องฟังด้วยความสนใจ ทำให้อยากรู้อยากเห็น และต้องคิดเสมอว่าเรื่องนี้มีประโยชน์น่าสนใจ
2. ฟังด้วยความตั้งใจ ตัดสิ่งรบกวนทางจิตใจออกไปไม่คิดถึงความหิว ความอิ่ม ฯลฯ ถ้าตัดกังวลเหล่านี้ไปได้ก็จะเหลือแต่ความตั้งใจฟัง จะได้รับสาระเต็มที่
3. ฟังเพื่อเก็บสาระสำคัญ ในการฟังแต่ละครั้งต้องทราบว่า ผู้พูดพูดเรื่องอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร เราก็รู้จักสรุปเรื่องเพื่อเก็บสาระสำคัญให้ได้
4. ฟังเพื่อพัฒนาความคิด ตามธรรมดามนุษย์เรามีความคิดเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาบางทีนั่งอยู่นิ่ง ๆ ก็คิดถึงเรื่องราวต่าง ทั้งที่เกิดขึ้นในอดีตและคาดการณ์ว่าจะเกิดในอนาคตดูสับสนไปหมด
แต่เมื่อมีรายการที่จะฟังเราอาจเห็นด้วยหรือเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ได้ การฝึกความคิดนี้ต้องฝึกอยู่ เสมอ ๆ จึงจะเป็นนักฟังที่ชาญฉลาด
5. ผู้ฟังต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่ฟัง การฟังเรื่องราวใด ๆ ก็ตาม หากผู้ฟังมีพื้นฐานความรู้เดิมอยู่บ้างก็จะได้ประโยชน์ ไม่สับสน และสามารถเชื่อมเรื่องราวที่กำลังฟังใหม่กับความรู้เก่าของเราได้อย่างกลม กลืน
6. ผู้ฟังต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษา หมายถึง ควรรู้จักคำอย่างกว้างขวาง เพราะสามารถจะทำความเข้าใจเรื่องที่ฟังได้อย่างรวดเร็ว
7. ต้องมีความเคารพและยอมรับผู้พูด ถึงแม้บางครั้งอาจแตกต่างกับเรื่องที่เราเคยรู้มา หรือเคยเรียนมา
9. มีวิจารณญาณและความรอบคอบ สามารถจับประเด็นได้ว่า ตอนใดเป็นแก่นของเรื่องหรือใจความสำคัญของเรื่อง และตอนใดเป็นพลความ หรือตัวอย่างประกอบ
10. มีเจตคติที่ดีต่อผู้พูดและเรื่องที่รับฟัง ผู้พูดที่ดีต้องไม่ถือเอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นใหญ่ เราต้องคิดอยู่เสมอว่า บุคคลที่เป็นผู้พูดนั้นเป็นคนที่ควรเคารพ เขามาให้ความรู้แก่เรานับว่าให้ประโยชน์แก่เราเหลือล้น

ประเภทการฟัง
การฟังมีหลายประเภท ได้แก่ การฟังนิทาน โฆษณา เพลง บทละคร อธิบาย บรรยาย ปาฐกถา
สุนทรพจน์ อภิปราย สนทนา โต้วาที ข่าว คำสั่ง การสัมภาษณ์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
แถบบันทึกเสียง ฯลฯ

มารยาทในการฟัง
มารยาทในการฟังมีหลายประการ จะละเลยข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ มารยาทการฟังในที่สาธารณะ ตลอดจนการสอนของครูอาจารย์ในห้องเรียน ควรรักษามารยาทและปฏิบัติดังนี้
1. เดินทางไปถึงสถานที่ที่มีการพูดก่อนเวลาที่จะเริ่มพูดประมาณ 15 นาที เป็นอย่างน้อย เพื่อจะได้มีเวลาจัดหาที่นั่งให้เป็นระเบียบไม่รบกวนผู้อื่น
2. ควรอยู่ในความสงบสำรวมขณะนั่งรอฟังการพูด
3. แต่งกายให้ถูกกาลเทศะ
4. เมื่อผู้พูดหรือประธานเดินทางมาถึง ควรให้เกียรติต้อนรับด้วยการยืนขึ้น เมื่อผู้พูดหรือประธานนั่งลงจึงค่อยนั่งตาม
5. ถ้าประธานจุดธูปเทียนบูชาพระ ควรลุกขึ้นพนมมือด้วย
6. ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัว
7. มีอาการสำรวมขณะที่นั่งฟัง แสดงความสนใจในการพูด ไม่นั่งไขว่ห้างหรือนั่งเอนหลังตามสบายหรือนั่งหลับ
8. ไม่พูดคุยกันกับผู้ฟังด้วยกัน ไม่ควรเขียนจดหมายเวียนกันอ่านในทำนองวิจารณ์ผู้พูดหรือเรื่องอื่น ๆ ก็ตาม
9. ไม่ส่งเสียงโห่ฮาหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือไม่พอใจ
10. ไม่ทำความรบกวนแก่ผู้ฟังคนอื่น
11. ไม่แสดงอาการให้ผู้พูดรู้สึกเก้อเขิน หรือยิ้มเยาะผู้พูดเมื่อพูดผิดพลาด
12. ฟังด้วยความตั้งใจและอดทน รู้จักเก็บความรู้สึกถ้าไม่เห็นด้วยกับผู้พูด ก็ควรมีใจกว้างและเป็นธรรม
13. หากมีข้อสงสัยในขณะที่มีการดำเนินการพูดอยู่ ก็ควรจดบันทึกย่อไว้ แล้วรอโอกาสถามในช่วงที่ผู้พูดหรือประธานเปิดโอกาสให้
14. ถ้าหากผู้พูดเป็นพระภิกษุและเป็นการแสดงธรรมผู้ฟังต้องพนมมือ และแสดงความสำรวมให้สมกับเป็นพุทธมามกะ
15. ไม่ออกจากสถานที่ที่มีการพูดก่อนเวลาพูดเสร็จ หากมีกิจธุระจำเป็นต้องแสดงความเคารพผู้พูดก่อนแล้วจึงออกไปได้
16. ปรบมือแสดงความขอบคุณผู้พูดเมื่อการพูดสิ้นสุดลง


ฟังอย่างตั้งใจ…..ปัญญาไว…..เพราะใส่ใจในการฟัง

*วันนี้อาจารย์ก็ได้สั่งให้ แต่ละกลุ่มแต่งเพลง และแต่งนิทาน ของแต่ละกลุ่มที่จับฉลากได้
มีเล่าไปตัดไป
เล่าไปพับไป
เล่าไปวาดไป
เล่าไปฉีกไป
เล่ากับเชือก
และกลุ่มของดิฉันได้จับฉลากได้  เล่าไปพับไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น