ยินดีต้อนรับคะ นางสาวอุบล สุขสร้อย[ละออ] รหัส 5411203010 กลุ่มเรียน 121 เลขที่ 33 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 16 วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555
          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนแสดงความคิดเห็นว่า การที่รัฐบาลแจกแท็บเล็ตให้เด็กชั้นประถมศึกษาปี่ที่1ดังหัวข้อต่อไปนี้
-ข้อดีของการใช้แท็บเล็ต
-ผลกระทบของการใช้แท็บเล็ต
-ประโยชน์การใช้แท็บเล็ต
                                         
 วิดีโอ Tablet คืออะไร



 


วิดีโอตัวอย่าง Tablet เด็กป.1


 


วิดีโอประโยชน์ของ Tablet ทางด้านการศึกษา


 

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 15  วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555


        วันนี้อาจารย์ให้ส่งทั้งหมดทั้งแผ่นซีดี และ บล็อก ส่วน ในเรื่องของบล็อก อาจารย์จะแนะนำ บล็อก ของนักศึกษาแต่ละคนว่าจะต้องมีอะไรปรับปรุงแก้ไข แล้ว ต้องเพิ่มสื่ออะไรตรงไหนบ้างในบล็อกของนักศึกษาแต่ละคน และการทำบล็็อกควรจะมีสิ่งที่เป็นแรงดึงดูด น่าสนใจ ให้คนมาอ่าน แล้วเวลาจะเอาอะไรใส่บล็อกควรจะพิจารณาด้วยว่าเกี่ยวกับเด็ก และในส่วนบล็อกของดิฉันมีที่จะต้องแก้ไข และเพิ่มเติมคือ ขนาดของตัวอักษรให้เสมอกัน แล้วต้องมีการลิงค์บทความ วิจัย และสิ่งที่เหมาะสำหรับเด็ก
*หมายเหตุ สัปดาห์หน้ามีการสรุปเรื่องที่เรียนทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาธรรมชาติ Whole Language ดร.วรนาท รักสกุลไทย, ดร.ภัทรดรา พันธุสีดา
http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=796

จากการดู  VDO เรื่อง ภาษาธรรมชาติ Whole Language ทำให้รู้ว่า

 คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ" โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน
ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
เคนเน็ท กูดแมน (K. Goodman,1986) กล่าวว่า การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีความเป็นมาจากทฤษฎีทางภาษาและทฤษฎีทางการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่บุษบง ตันติวงศ์ วิเคราะห์ว่าการสอนภาษาแบบธรรมชาติมีทฤษฎีพื้นฐาน 3 ทฤษฎี ประกอบด้วย (1) ทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา (2) ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และ (3) ทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา (บุษบา ตันติวงศ์, 2536) โดยเฉพาะทฤษฎีที่ 2 กูดแมน (Yetta M.Gookman,1989) กล่าวว่าเด็กต้องการที่ใช้ภาษาในการแก้ปัญหาที่มีความสำคัญและมีความหมายต่อชีวิตประจำวันของตน
สำหรับทฤษฎีทางการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อแนวการสอนนี้ประกอบด้วย เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ (Dewey) เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง (Piaget) เช่นเดียวกับไวกอตสกี้ (Vygotsky) กล่าวว่า อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กและฮัลลิเดย์(Haliday) กล่าวว่าบริบท (Context) มีส่วนสำคัญในการเรียนรู้ภาษา จึงสรุปได้ว่าการสอนภาษาแบบธรรมชาติเกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงและสูงสุดกับผู้เรียน
จากทฤษฎีต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนมีอิทธิพลต่อหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนั้นนฤมน เนียมหอม (2540) จึงได้สรุปหลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้นไว้ดังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย
2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสที่จะอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ โดยที่ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และจะต้องให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่านหรือช่วงเวลาใดต้องเขียน
3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูจะต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆ ให้เด็กเห็น เช่น เพื่อการสื่อสารเพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน
4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรจะเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน
5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมติฐานเบื้องต้นของตนและมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน ไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่าจะยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ อาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น
7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กว่าเด็กจะเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูจะต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กจะต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนเพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้จะไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กจะต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กเพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้

ครูที่จะประยุกต์ใช้การสอนภาษาแบบธรรมชาติ จึงมีบทบาทดังนี้
1. ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์
2. ครูหวังในเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
3. ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
4. ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก

การสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นนวัตกรรมเชิงปรัชญา ดังนั้นการนำไปใช้จึงต้องเริ่มต้นจากระบบความเชื่อ ความศรัทธา และเจตคติที่ถูกต้อง ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า การปรับเปลี่ยนไม่สามารถทำได้รวดเร็ว โดยเฉพาะหากผู้ใช้ขาดความรู้ความเข้าใจในแนวการพัฒนาเด็กที่เหมาะสมการสอน ไม่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และไม่มีการประเมินจากสภาพจริง (Authentic assessment) นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องมีระบบการดำเนินการที่ดี (Organizing) เริ่มตั้งแต่การวางแผน การจัดเตรียม การลงมือปฏิบัติ การประเมินผลและการสะท้อนกลับ (Reflect) ข้อมูลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการสอนที่ดีขึ้น ซึ่งประการหลังนี้ถือได้ว่าเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่นักการศึกษาไทยควรให้ความสนใจศึกษากลยุทธ์นี้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ความหวังในการแก้ปัญหาวิกฤตินี้ทุเลาลงได้บ้าง แม้ว่าจะไม่หายขาดได้ทันที ก็ยังดีกว่าไม่มีการเยียวยาใดๆ ไม่ใช่หรือ ?

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 14 วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555



            วันนี้ได้มีการร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  และเล่านิทาน 
กลุ่ม อันอัน   เพลง  เด็กน้อยน่ารัก
     เด็ก เด็กที่น่ารัก หนูจงตั้งใจอ่านเขียน
ตอนเช้าหนูมาโรงเรียน (ซ้ำ)
หนูจงพากเพียรและขยันเรียนเอย

กลุ่ม มด (กลุ่มของข้าพเจ้า) เพลง นกน้อย
  นกตัวน้อยน้อย  บินล่องลอยตามสายชล
เด็กเด็ก พากันมาชื่นชม  ช่างสุขสมอารมณ์จริงเอย
ลา ลั้น ล้า ลา ลัน ล้า ลา ล่า ลา

กลุ่ม พราว  เพลง  ตาหูจมูก
     ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน  รู้ไมช่วยบอกฉันที
ดวงตาฉันอยู่ที่นี่           ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
ใบหูฉันอยู่ที่ไหน           รู้ไหมช่วยบอกฉันที
ใบหูฉันอยู่ที่นี่               ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
จมูกฉัันอยู่ที่ไหน           รู้ไหมช่วยบอกฉันที
จมูกฉันอยู่ที่นี่               ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง  (ซ้ำ) 

กลุ่ม อ๊อฟ   เพลง   กินผัก ผลไม้
  กินผักแล้วมีประโยชน์    ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
เกลือแร่ก็มีมากมาย          อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน        กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน
ของดีล้วนล้วนไม่ควรเขี่ยทิ้ง

วิดีโอภาพการนำเสนอ


วิดีโอ เรื่อง ดินสอวิเศษ
    เด็กได้อะไรจาการเล่านิทานอ่านหนังสือให้ฟัง
   1.  การเกิดและงอกงามของภาษาเช่น ได้ยิน,ได้มองเห็น,ความสัมพันธ์ระหว่างภาพและเสียง,เกิดภาษาพูด,ภาษาอ่าน,ภาษาเขียน
   2.  เด็กจะเริ่มสนใจขีดเขียน
   3.  เมื่อรู้ตัวหนังสือจะเริ่มขีดเขียน
   4.  นี่คือภาษาสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการอ่าน
   5.  เกิดกระบวนการอบรมกล่อมเกราความรู้-ปัญญา,จินตนาการ,มีคุณธรรม
  หลักเกณฑ์ในการเลือกหนังสือปฐมวัย
       1.  รูปเล่มขนาดพอดีที่เด็กจับอ่านได้
       2.  สีสดใส แต่ไม่ร้อนแรง
       3.  ตัวหนังสือโตพอสมควรและแบบมาตรฐาน
       4.  รูปเหมือนจริงไม่เลอะ
       5.  มีที่พักสายตา ช่องว่าง
       6.  ภาษาเป็นภาษาที่ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
       7.  ใช้คำคล้องจองหรือคำซ้ำ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555


วันอาทิตย์ 9 กันยายน 2555
          วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 ข้าพเจ้าได้เข้าสัมมนาการศึกษาปฐมวัย เรื่อง นิทานการเสริมสร้างจินตนาการการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม 2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู คณะศึกษาศาสตร์

วิดีโอเทคนิคการเล่านิทาน




ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการอ่านนิทาน
นิทานช่วย พัฒนาการพื้นฐาน เด็กจะได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น หู ตา รวมถึงสมอง ขณะอ่านนิทานให้ลูกฟังหากให้เด็กนั่งตัก เจ้าตัวน้อยจะได้รับความอบอุ่นจากสัมผัสไปด้วย  นิทานที่จะนำมาอ่านให้เด็กฟัง ต้องเข้าใจง่าย ถูกต้องตามหลักภาษา ที่สำคัญ สัมพันธ์กับภาพประกอบ เพื่อที่จะได้สื่อสารกับเด็กได้ง่าย  ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการอ่านหนังสือนิทานมีดังนี้ 

1.ภาษา หนังสือ เปรียบเสมือนคลังภาษาสำหรับเด็ก เด็กจะเรียนรู้ภาษาจากประสาทสัมผัสทางหู ภาษาเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่เด็กนำไปใช้สื่อสารต่อไป และภาษายังเป็นเครื่องมือให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัวมากยิ่งขึ้น

2.จินตนาการหนังสือเป็นเรื่องเล่าที่สนุกให้เด็กได้จินตนาการและคิดตาม การได้ฟังบ่อยๆ จะช่วยกระตุ้นให้เด็กฝึกใช้จินตนาการ

3.สัญลักษณ์ เด็ก จะจดจำบางสิ่งได้จากการเห็นบ่อยๆ เช่น เลขแปดมีลักษณะคล้ายปลา เมื่อบอกเด็กว่าแปดเหมือนปลา เด็กๆ ก็จะนึกภาพปลาก่อน จากนั้นก็เชื่อมโยงเป็นเลขแปด

4.ความคิดสมองของเด็กจะถูกกระตุ้นให้คิดและเรียนรู้ตลอดเวลาจากการที่เราอ่านหนังสือให้เด็กฟัง จากการสัมผัส เด็กจะคิดและจินตนาการตามไปด้วย

5.สมาธิ เด็กที่ได้ฟังจากการอ่านหนังสืออยู่บ่อยๆ จะมีสมาธิทำกิจกรรมได้ต่อเนื่อง และจะมีความสนใจจดจ่อกับสิ่งนั้น
 

ปรารถนาให้ลูกเรียนรู้เร็วก็อ่านหนังสืออ่านนิทานให้เขาฟังเถิด เพื่ออนาคตสดใจของพวกเขา 


 

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 13 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555

                 * วันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมชมนิทรรศการอาเซียนที่คณะศึกษาศาสตร์  
  โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน
               ผอ. ราตรี  ศรีไพรวรรณ    เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

      คำขวัญของอาเซียน คือ  One Vision One ldentity One Community   หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม

กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
     

ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
           1. กัมพูชา
             2. ไทย
           3. บรูไนดารุสซาลาม
           4. พม่า
           5. ฟิลิปปินส์
           6. มาเลเซีย
           7. ลาว
           8. สิงคโปร์
           9. เวียดนาม
           10. อินโดนีเซีย
 
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
     Assocaitiion  of  Southeast  Asian  คือ  สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
     8 สิงหาคม 2510  คือวันกำเนิดอาเซียนในประเทศไทย หรือวันปฏิญญากรุงเทพ
    ภาษาราชการของกลุ่มอาเซียน จะใช้  ภาษาอังกฤษ
    กฎบัตรอาเซียน     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุ่งจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)

เพลงประจำอาเซียน 
“The ASEAN Way”
เป็น ผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.



 เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล









ภาพการฟังบรรยายเกี่ยวกับอาเซียน

เข้าใจอาเซียน ผ่านการ์ตูน


                             อาหารประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเชียน


ชุดประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเชียน


ดอกไม้ประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเชียน



 คำทักทายภาษาอาเซียน

  คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน